วันนี้มีนวัตกรรมแนวใหม่มานำเสนอ ดิฉันเห็นว่ามันมีประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู และเป็นนวัตกรรมที่แปลกดี ลองศึกษากันดูนะคะ
มิติใหม่แห่งการศึกษาไร้พรมแดน
Asynchronous Learning คือ รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้สอน และผู้เรียนไม่จำเป็นต้องพบกันตามเวลาในตาราง ที่กำหนดไว้ (Synchronous Learning) แต่ผู้สอนและผู้เรียนสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา โดยใช้เครื่องมือสื่อ สารต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหน เวลาใดก็ได้ (Anywhere Anytime) เป็นการเรียนที่อาศัยวิธีการ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ในลักษณะที่ปฏิสัมพันธ์ และมีส่วนร่วมช่วยเหลือกันระหว่าง ผู้เรียน โดยใช้แหล่ง ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกล ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้า หรือเข้าถึงข้อมูลความรู้เหล่านั้น จากที่ไหน และเวลาใดก็ได้ ตามความต้องการและความสะดวกของผู้เรียนเอง ซึ่ง Asynchronous Learning เป็นการใช้การสื่อสารระยะไกล (Telecommunication) เพื่อช่วยให้การเรียนรู้มีลักษณะใกล้เคียงกับการเรียนในระบบห้องเรียนหรือการเรียนการสอนที่ผู้สอนกับผู้เรียนได้พบหน้ากัน (Face - to - Face Instruction)
แนวคิดเกี่ยวกับ Asynchronous Learning คือการนำความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การสื่อ สาร และความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบโทรทัศน์ ระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ รวมทั้งโปรแกรมสำเร็จรูป (Software) ต่าง ๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อการศึกษา ทำ ให้สามารถขจัดข้อจำกัดของการเรียนการสอนในลักษณะที่ผู้สอนและผู้เรียนต้องมีเวลาตรงกัน ใน ลักษณะตารางสอน (Synchronous Learning) มีสถานที่ตรงกัน อาจจะเป็นห้องเรียน หรือสถานที่ ใดที่หนึ่งจึงจะมีกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ทำให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนในลักษณะ Face - to - Face แต่ถ้าหากใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ การเรียนรู้ในลักษณะดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน โดยที่ ผู้เรียนและผู้สอนไม่จำเป็นต้อง มีเวลาและสถานที่ตรงกัน นั่นคือ ผู้เรียนสามารถเรียนจากที่ไหนและเวลาใดก็ได้ ตามความต้องการ ของผู้เรียนเอง โดยผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น Multimedia Computer, Telephone และ Computer Linking Infrastructure, The Internet และ World Wide Web, E - Mail, Conference System และอื่น ๆ เช่น Audio - Video
องค์ประกอบของการจัดการศึกษาแบบอะซิงโครนัส
Asynchronous Learning มีองค์ประกอบ ดังนี้
1. แหล่งข้อมูลระยะไกล (Remote Resource) ที่ต้องใช้เครื่องมือ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการ เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น
- E - Mail
- Web Board, White Board, Bulletin Board
- Web Phonelink
- Chat - Talk online
- Video Conference
- FTP
- Course Homepage
- Course Syllabus
- Lecture Note
- Tutorials
- Homework Assignments
- Slides
- Multimedia Coureware
- Interactive Multimedia Coureware
- Hypermedia Coureware
- Visual Library
2. การเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Learning) โดยมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
2.1 ผู้เรียนจะเป็นผู้ควบคุมสิ่งที่จะเกิดขึ้นในการเรียนการสอนตามความต้องการของตนเอง
2.2 เป็นการเรียนในลักษณะของการสื่อสารสองทาง (Two - Way Communication) ทั้ง ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน และระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
3. การเรียนแบบร่วมมือกัน (Collabrative Learning) เป็นการเรียนแบบช่วยเหลือกัน ซึ่งการเรียน แบบนี้คือ นักเรียนร่วมกันทำงานในกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายหลักร่วมกัน
4. การเรียนการสอน ที่ไม่จำเป็นต้องเรียนตามตารางสอน (Teaching and Learning in Asynchronous Learning) เป็นการเรียนการสอนแบบ Asynchronous ซึ่งผู้สอน และผู้เรียนมี บทบาท ดังนี้
4.1 บทบาทของผู้สอน ผู้สอนจะเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง เป็นโค้ช และผู้อำนวยความสะดวกในการ เรียนการสอน โดยถือว่าผู้สอนเป็นสมาชิกคนหนึ่งในการเรียนการสอนด้วย
4.2 บทบาทของผู้เรียน ต้องค้นคว้าหาข้อมูลด้วยตนเองในการเรียนแบบช่วยเหลือกัน และต้องมี ปฏิสัมพันธ์กัน ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้อย่างกระฉับกระเฉง ไม่ใช่ให้ครูเป็นผู้นำความรู้มาให้เพียงฝ่าย เดียว และต้องมีการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
5. เทคนิคการเรียนแบบ Asynchronous (Asynchronous Techniques) ประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ดังนี้
- Web - Based Instruction
- Web - Based Interactive Learning Environment
- WWW - Based Education
- Interactive Education Aids
- World Lecture Hall
- World - Based Multimedia
6. การใช้ Web Based Course คือการที่ผู้สอนให้รายละเอียดทั้งด้านเนื้อหา แหล่งค้นคว้า แบบฝึกหัด ฯลฯโดยการนำรายละเอียดดังกล่าวใส่ไว้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ เรียกใช้ได้ตลอดเวลา สิ่งที่สนับสนุนให้เกิดลักษณะการเรียนการสอนแบบ Asynchronous มีดังนี้
6.1 การเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center)
6.2 การเรียนรู้แบบช่วยเหลือกัน (Collaborative Learning)
6.3 มีการเสริมเนื้อหา (Content Reinforcement)
6.4 ง่ายในการรับข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ทั่วโลก
6.5 รับข้อมูลได้รวดเร็ว ทันเวลา และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน
6.6 การเรียนการสอนแบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive Learning)
6.7 การให้ความรู้ผ่านสื่อหลากหลาย (Multimedia)
ลักษณะการเรียนการสอนแบบ Asynchronous Learning ที่กล่าวมาข้างต้น มีการนำ เทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ โดยเฉพาะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสาร ทั้งนี้เพื่อนำมาใช้สนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกสถานที่ เวลา และ สื่อการเรียนได้ตามความต้องการ
วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น